ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

มีสมุนไพรอะไรช่วยให้เลิกบุหรี่ได้บ้าง

สมุนไพรอะไรช่วยให้เลิกบุหรี่

บุหรี่ มีสารพิษต่าง ๆ หลายชนิด แต่สารสำคัญที่ทำให้เกิดการเสพติด คือ นิโคติน เป็นสารที่มีลักษณะคล้ายน้ำมัน ไม่มีสี ร้อยละ 95 ของนิโคตินที่เข้าสู่ร่างกายจะไปจับอยู่ที่ปอด บางส่วนจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด มีผลโดยตรงต่อต่อมหมวกไต ก่อให้เกิดการหลั่งสาร อิพิเนฟริน (Epinephrine) ทำให้ความดันเลือดสูง หัวใจเต้นเร็ว หลอดเลือดรัดตัว เพิ่มไขมันในเส้นเลือด เป็นต้น

 

เมื่อหยุดสูบบุหรี่จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดนิโคตินในร่างกาย หรือที่เรียกว่าภาวะขาดนิโคติน จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว บางคนอาจเกิดขึ้นในช่วง 2 – 3 วันแรกเท่านั้น และเมื่อผ่านพ้นระยะนี้แล้ว หากมีความอยากสูบบุหรี่อีกต่อไป นั่นเป็นเพียงความต้องการทางอารมณ์ หรือความเคยชินเท่านั้น ภาวะขาดนิโคตินมีอาการดังนี้ โหยหา อยากสูบบุหรี่ หงุดหงิด กระวนกระวาย ใจสั่น ไม่มีสมาธิในการทำงาน ง่วงนอน เซื่องซึม สมองตื้อ ซึมเศร้า ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ กระเพาะอาหารและลำไส้แปรปรวน

 

ยาที่ช่วยเลิกสูบบุหรี่มีหลายอย่างด้วยกัน คือ

  1. น้ำยาอดบุหรี่ (Mouth wash) มีส่วนผสมของ Sodium Nitrate โดยจะทำปฏิกิริยากับต่อมรับรสในปากทำให้สูบบุหรี่ไม่อร่อย เสียรสชาติ จึงทำให้เกิดการเบื่อบุหรี่ วิธีใช้ ใช้อมประมาณ 1 – 2 นาที แล้วบ้วนทิ้ง อย่ากลืน เพราะจะทำให้คลื่นไส้อาเจียน
  2. โคลนิดีน (Clonidine) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง แต่มีฤทธิ์ข้างเคียงทำให้ไม่อยากสูบบุหรี่ ที่สำคัญ คือ มีผลทำให้ความดันโลหิตต่ำ ปัจจุบันไม่นิยมนำมาใช้กับผู้ต้องการเลิกบุหรี่
  3. สมุนไพร สมุนไพรบางชนิดมีฤทธิ์ข้างเคียงทำให้เกิดการเบื่อบุหรี่ เช่น หญ้าดอกขาว ซึ่งเป็นไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า มีขึ้นกระจายทั่วไปตามที่รกร้างข้างทาง ทุกภาคของประเทศไทย ใช้ทั้งต้นต้มรับประทานแก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ใบสดตำให้ละเอียดปิดสมานแผล ทำให้เย็น หรือผสมกับน้ำนม คนกรองเอาแต่น้ำ หยอดตา แก้ตาแดง ตาฝ้า ตาเปียก ตาแฉะ แต่ในปัจจุบันนำมาใช้กับผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ เพราะผลข้างเคียงของสมุนไพรหญ้าดอกขาว จะทำให้ช่องปากจืดรับรสได้น้อยลง และเบื่อบุหรี่ วิธีใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาว ใช้ทุกส่วนของลำต้นโดยผ่านกระบวนการผลิต สามารถนำมาชงแทรกชาดื่มวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เป็นเวลา 10 – 15 วัน จะช่วยลดอาการหงุดหงิดจากการเปรี้ยวปากอยากสูบบุหรี่ได้

 

ภาพประกอบจาก: en.wikipedia.org

ความรู้สมุนไพร

คู่มือพื้นฐานความรู้สุขภาพสุ่เศรษฐกิจพอเพียง | โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข | บรรณาธิการ : นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ | ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ดร.ทรงพรรณ สิงห์แก้ว • นางสาวนัยนา แสงวณิช • นางอัญชลี มุละดา | ผู้เรียบเรียง : แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ • นางสาววัชรีพร คงวิลาด • นางสาวศรีวรรณ์ สังขวิราม • นางสาวพิชาดา คำสุมาลี • นางสาวสุจิรัตน์ มาทองแดง • นางสาวทศพร อยู่ฤทธิ์ • นางสาวรัตติการ วิเคียน


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก