ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

การรักษาด้วยวิธีใส่เฝือก (Practical point)

การรักษาด้วยวิธีใส่เฝือก

ทำไมต้องใส่เฝือก (Cast) หรือเฝือกชั่วคราว (Slap) เพื่อดามกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บให้อยู่นิ่ง ๆ ช่วยลดอาการปวด บวม และกล้ามเนื้อหดเกร็ง ป้องกันไม่ให้กระดูกที่หักเคลื่อนที่ หลังจากได้รับการจัดเข้าที่แล้ว หรือใส่ดัดกล้ามเนื้อ ดัดข้อ เพื่อแก้ไขความพิการ

 

แบ่งเป็นเฝือกครึ่งเดียวหรือเฝือกอ่อน (Slap) และเฝือกเต็มรอบหรือเฝือกแข็ง (Cast) โดยเฝือกครึ่งเดียวจะแข็งแรงน้อยกว่าเฝือกเต็มรอบ แต่ถอดออกได้ง่ายกว่า ในระยะแรก ถ้ามีอาการบวมมาก อาจใส่เฝือกครึ่งเดียวหรือเฝือกชั่วคราวไว้ก่อน และเมื่ออาการบวมลดลงจึงมาใส่เป็นเฝือกเต็มรอบอีกครั้ง

 

ชนิดของเฝือก

ปัจจุบันมีเฝือกให้เลือกอยู่ 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

  • เฝือกปูน ซึ่งเป็นการนำปูนพลาสเตอร์มาเคลือบบนผ้าฝ้าย เมื่อใส่แล้วก็จะมีสีขาว
    • ข้อดี ราคาค่อนข้างถูก การใส่เฝือกและการตัดเฝือก ดัดเฝือกทำได้ง่าย
    • ข้อเสีย น้ำหนักมาก แตกร้าวง่าย ต้องใช้ไม้ค้ำยัน ห้ามลงน้ำหนักที่เฝือก ระบายอากาศไม่ดี มักเกิดอาการคัน เวลาถ่ายเอกซเรย์ จะมองไม่ค่อยเห็นรอยกระดูกหัก ถ้าเฝือกแน่นหรือหลวมก็ต้องเปลี่ยนเฝือกใหม่
  • เฝือกพลาสติก (Fiber cast) เป็นพลาสติกสังเคราะห์ มีหลายสีให้เลือก
    • ข้อดี น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี สีสวยงาม ความแข็งแรงสูง แต่ก็ต้องใช้ไม้ค้ำยัน ห้ามลงน้ำหนักเต็มที่ เวลาถ่ายเอกซเรย์ จะเห็นรอยกระดูกหักได้ชัดเจนกว่า เฝือกแน่นหรือหลวมก็ต้องเปลี่ยนเฝือกใหม่
    • ข้อเสีย ราคาแพง (แพงกว่าเฝือกปูนประมาณ 8 – 10 เท่า) การตัดเฝือก ดัดเฝือกทำได้ยาก มักเปลี่ยนใหม่
  • เฝือกลม (Air cast) มีใส่เฉพาะที่ เท้า ข้อเท้า ขา และมีเฉพาะสีเทา
    • ข้อดี น้ำหนักเบา ความแข็งแรงสูงสามารถเดินลงน้ำหนักบนเฝือกได้ โดยไม่ต้องใช้ไม้ค้ำยัน ระบายอากาศได้ดี มีถุงลมปรับให้แน่นหรือหลวมได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเฝือก สามารถถอดเฝือกออกได้เอง
    • ข้อเสีย ราคาแพง  ไม่สามารถปรับให้เข้ากับกระดูกที่คดผิดรูป

การรักษาด้วยวิธีใส่เฝือก

www.youtube.com/watch?v=4w76zbUHH-g

 

เมื่อไรถึงจะต้องเปลี่ยนเฝือก

  • เฝือกปูน เฝือกพลาสติก เมื่อใส่ไปช่วงหนึ่ง ประมาณ 2 อาทิตย์ เฝือกมักจะหลวม เนื่องจาก บวมลดลง หรือกล้ามเนื้อลีบ ต้องตัดเฝือกเก่าออกแล้วใส่ใหม่ แต่ถ้าเป็นเฝือกลม สามารถเพิ่มลมให้เฝือกแน่นขึ้นได้
  • เมื่อกระดูกเริ่มติด ประมาณ 4 – 6 อาทิตย์ ก็อาจเปลี่ยนเป็นเฝือกชั่วคราว เพื่อสะดวกในการบริหาร

 

ถ้ารู้สึกบวม ทำอย่างไร

ในช่วง 48 – 72 ชั่วโมงแรก สามารถลดอาการบวมโดย

  • ยกแขนหรือขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ โดยเฉพาะขณะพักผ่อน เช่น ใช้ผ้าคล้องแขน วางบนเก้าอี้ หรือหมอน
  • ขยับนิ้วหรือนิ้วเท้า ส่วนที่อยู่นอกเฝือกบ่อย ๆ และเคลื่อนไหวข้อที่อยู่นอกเฝือกบ่อย ๆ
  • ประคบเย็นบนเฝือก โดยนำน้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติก ใส่น้ำเล็กน้อย แล้วห่อด้วยผ้าแห้ง นำไปหุ้มรอบเฝือก
  • บริเวณกระดูกหัก การประคบเย็นเพียงจุดเดียวจะไม่ค่อยได้ผลเหมือนการประคบเย็นรอบเฝือก

 

สัญญาณอันตรายหลังการใส่เฝือก หรือเฝือกชั่วคราว ควรพบแพทย์โดยด่วน

  • ปวดหรือชามากขึ้น เฝือกคับแน่นมากขึ้น หลังจาก ยกสูง ประคบเย็น และ รับประทานยา แล้ว
    อาการไม่ดีขึ้น
  • ผิวหนังบริเวณขอบเฝือก บวมแดง มีแผลติดเชื้อหรือน้ำซึมเปื้อนเฝือก ไหลออกมาจากเฝือก หรือเฝือกมีกลิ่นเหม็น
  • ปลายนิ้วหรือเล็บ เขียวคล้าหรือซีดขาวกว่าข้างปกติ ไม่สามารถขยับนิ้วมือนิ้วเท้า หรือขยับแล้วปวดมาก
  • เฝือกหลวม หลุด หรือเฝือกหัก แตก ร้าว ผิดรูป

 

การรักษาด้วยวิธีใส่เฝือก

www.youtube.com/watch?v=y1n623RB1CY

 

การดูแลเฝือกปูน เฝือกพลาสติกหรือ เฝือกชั่วคราว

  • อย่าให้เฝือกเปียกน้ำ เวลาอาบน้ำให้หุ้มเฝือกด้วยถุงพลาสติก 2 ชั้น แล้วรัดปากถุงด้วยเชือกหรือยางยืดให้แน่น
  • ถ้าเฝือกเปียกน้ำ ให้ใช้พัดลม หรือไดร์เป่าผม เป่าเฝือกให้แห้ง ห้ามใช้ ไฟลนเฝือก
  • ไม่ควรลงน้ำหนักเต็มที่บนเฝือก จนกว่าเฝือกจะแข็งแรง (เฝือกพลาสติก 1 ชม. เฝือกปูน
    2 – 3 วัน)
  • วางเฝือกบนวัสดุนิ่มๆ เวลาเคลื่อนย้าย ควรประคองเฝือก อย่างระมัดระวัง อย่าให้กระทบกระแทก
  • ระวังอย่าให้สิ่งสกปรก ทรายหรือฝุ่น เข้าไปในเฝือก ไม่ควรใส่แป้งฝุ่นเข้าไปในเฝือก
  • ถ้ามีอาการคัน ไม่ควรใช้ไม้ หรือ สิ่งอื่นใส่เข้าไปในเฝือกเพื่อเกา เพราะอาจเกิดแผลถลอก
    หรือเกิดแผลติดเชื้อ
  • ถ้าคันมากให้ใช้ 75% แอลกอฮอล์ หยอดลงไปในเฝือกให้ไหลไปบริเวณที่คัน หรือใช้สเปรย์แป้ง
  • ไม่ควรตัดขอบเฝือกเอง หรือตัดเฝือกให้สั้นลง ไม่ควรดึงสำลีรองเฝือกออก

 

การเอาเฝือกปูน เฝือกพลาสติกออก

จะใช้เลื่อยสาหรับตัดเฝือกโดยเฉพาะใบเลื่อยจะสั่นด้านข้าง เมื่อใบเลื่อยโดนสำลีรองเฝือก สำลีจะไม่ขาด ทำให้ไม่เป็นอันตราย ขณะตัดเฝือกจะมีเสียงดังและรู้สึกร้อนจากการเสียดสีบ้างเล็กน้อย

 

การดูแลหลังจากเอาเฝือกออก

  • ทำความสะอาดผิวหนัง เบา ๆ ด้วยสบู่และน้ำ อาจทาน้ำมันหรือโลชั่นเพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น
  • เริ่มเคลื่อนไหวข้อที่ถอดเฝือกออกทันที โดยค่อย ๆ ทาเพิ่มขึ้น ทาเท่าที่ทาได้ ทาบ่อย ๆ
  • ถ้ามีอาการบวม ควรยกแขนหรือขา ให้สูงกว่าระดับหัวใจ เช่น ใช้ผ้าคล้องแขน วางบนเก้าอี้หรือหมอน

 

แนวทางรักษาทั่วไป

โดยทั่วไป จะนัดมาตรวจครั้งแรกหลังจากใส่เฝือกไว้ 2 อาทิตย์ ถ้าเฝือกหลวม อาจต้องเอกซเรย์หรือเปลี่ยนเฝือกใหม่ แต่ถ้าเฝือกแน่นและแข็งแรงดีอยู่ ก็ใส่เฝือกเดิมแล้วนัดมาตรวจซ้ำอีก 2 อาทิตย์ เพื่อตัดเฝือกออก โดยปกติใส่ 2 – 4 อาทิตย์ หลังจากนั้นจะนัดทุก 1 – 2 เดือน เพื่อตรวจซ้ำว่า เส้นเอ็นหรือกระดูกหายสนิทหรือยัง ปกติใช้เวลา 4 – 6 เดือน แต่เฝือกจะใส่ไว้แค่  2 – 4 อาทิตย์ ดังนั้นถึงแม้ว่าจะเอาเฝือกออกแล้ว เส้นเอ็นหรือกระดูก ก็ยังไม่หายสนิท จึงควรแนะนำให้ผู้ป่วยระมัดระวังในการใช้งานและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างเคร่งครัด

 

นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาพประกอบจาก : อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ที่ระบุใต้รูป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก