กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) หัก
กระดูกไหปลาร้า เป็นตำแหน่งที่พบกระดูกหักได้บ่อย แต่มักไม่มีอันตรายร้ายแรง และไม่ค่อยพบภาวะแทรกซ้อน ยกเว้นกระดูกติดทับซ้อนกันทำให้กระดูกนูนขึ้น ไม่เรียบเหมือนปกติ กระดูกไหปลาร้าหัก มักเกิดจากการเอามือยันพื้นขณะเกิดอุบัติเหตุ หรือถูกกระแทกโดยตรงที่กระดูกไหปลาร้า
แนวทางรักษากระดูกหัก
- วิธีไม่ผ่าตัด ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่จะรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด
- รับประทานยาบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
- อุปกรณ์พยุงไหล่ เช่น ผ้าคล้องแขน ผ้ารัดไหล่รูปเลขแปด เป็นต้น ในระยะแรกจะมีอาการปวด บวม กดเจ็บ หรือคลำได้ปลายกระดูกที่หัก บางครั้งอาจได้ยินเสียงกระดูกเสียดสีกัน เวลาขยับไหล่ ขยับแขน ไอจาม แต่สามารถทำกิจกรรมดำเนินชีวิตประจำวันและบริหารข้อไหล่ได้ โดยมีหลักง่าย ๆ ว่า “ถ้าทำแล้วไม่ปวด ก็ทำได้ แต่ถ้าทำแล้วปวดก็ให้หยุด”
- การใส่อุปกรณ์พยุงไหล่ มีจุดประสงค์เพื่อ ลดการเคลื่อนไหวของกระดูกหัก จะได้ไม่ปวด เท่านั้น (ไม่ได้ใส่เพื่อให้กระดูกเข้าที่เหมือนปกติ) ดังนั้นเมื่อรักษาหายแล้ว กระดูกจะติดผิดรูป ทำให้กระดูกไหปลาร้านูนกว่าปกติ อาจดูแล้วไม่สวยงามแต่ส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหาในการใช้งาน
- โดยทั่วไปจะใส่อุปกรณ์พยุงไหล่ไว้ 4 – 6 อาทิตย์ สามารถถอดอุปกรณ์พยุงไหล่ ออกได้ในบางช่วง เช่น อาบน้ำหรือนอน เป็นต้น เพียงแต่เมื่อถอดอุปกรณ์พยุงไหล่ออก เวลาขยับไหล่ อาจรู้สึกปวดมากขึ้น
- หลังจาก 4-6 อาทิตย์ กระดูกจะเริ่มติด ถ้าเคลื่อนไหวไหล่แล้วไม่ค่อยปวด สามารถถอดอุปกรณ์พยุงไหล่ออกได้เลย (กระดูกติดสนิท ใช้เวลา 4 – 6 เดือน)
- การบริหารข้อไหล่สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ช่วงที่กระดูกหัก โดยมีหลักเบื้องต้นว่า “ถ้าทำแล้วไม่ปวด ก็ทำได้ แต่ถ้าทำแล้วปวดก็ให้หยุด” ถ้าไม่บริหารข้อไหล่ จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ข้อไหล่ติด กล้ามเนื้อลีบอ่อนแรง ซึ่งจะรักษายากและทำให้ผลการรักษาไม่ค่อยดี
- วิธีผ่าตัด
- ผ่าตัดทำความสะอาดบาดแผลแต่ไม่ใส่เหล็ก แล้วใส่เครื่องพยุงไหล่ไว้
- ผ่าตัดใส่เหล็กเพื่อยึดตรึงกระดูก เช่น ลวด แผ่นเหล็ก แกนเหล็ก
ข้อบ่งชี้ ที่ควรรักษาด้วยวิธีผ่าตัด เช่นกระดูกหักหลายชิ้น หรือแตกเข้าข้อ
- ปลายกระดูกที่หัก เคลื่อนที่ห่างกันมาก
- มีแผลเปิดเข้าไปถึงบริเวณกระดูกที่หัก
- กระดูกไม่ติด และมีอาการปวด
อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์
- มีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก รู้สึกเหนื่อยมากขึ้น
- มือบวมมาก รู้สึกชาที่บริเวณปลายนิ้วมือ หรือ รู้สึกแขนอ่อนแรง
- ปวดไหล่ หรือปวดแขนมาก รับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น
- มีไข้สูง แผลบวมหรือมีหนอง ปวดแผลมาก
การรักษาอาจแตกต่างกัน ต้องสอบถามแพทย์ผู้ให้การรักษาท่านว่า ควรจะรักษาด้วยวิธีไหน แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด การตัดสินใจขั้นสุดท้ายที่จะเลือกวิธีรักษานั้น ท่านต้องตัดสินใจ ด้วยตนเอง
วิธีบริหาร ข้อไหล่
1. เหวี่ยงแขนเป็นวงกลม ค่อย ๆ หมุนเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำ 10 เที่ยว ยืนก้มเล็กน้อย
(ใช้มืออีกข้างจับโต๊ะเพื่อช่วยพยุงตัว) หรือนอนคว่าอยู่บนเตียง
ถ้าไม่ปวดมาก อาจถือน้ำหนัก 1 – 2 กิโลกรัม เพื่อช่วยให้หมุนได้ง่ายขึ้น
2. ท่าหมุนข้อไหล่ ทำซ้ำ 10 เที่ยว
———-ก. หมุนไปข้างหน้า ข. เคลื่อนหน้าหลัง ค. หมุนย้อนกลับ
3. ท่ายกแขน ศอกเหยียดตรง ยกสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำ 10 เที่ยว
———-ก. ด้านหน้า ข. ด้านหลัง ค. ด้านข้าง
4. ท่ายกไม้ ยกสูงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำ 10 เที่ยว
——ก. ด้านหน้า ข. ด้านข้าง ซ้ายขวา ค. ด้านหลัง ง. ด้านหลัง ข้อศอกงอ
————————————————————— ข้อศอกตรง (ไม้ชิดหลัง)
5. ท่านิ้วไต่ผนัง ให้สูงมากที่สุดเท่าที่จะทนปวดได้ ทำ 10 เที่ยว ทำเครื่องหมายไว้ ครั้งต่อไป พยายามทำให้สูงกว่าเดิม อย่าเขย่งหรือเอียงตัว
————————ก. หันหน้าเข้าผนัง ข. หันข้างเข้าผนัง
6. ท่าชักรอก นาเชือกคล้องผ่านรอกเหนือศีรษะทางด้านหน้า จับปลายเชือกทั้งสองข้าง ใช้แขนที่ไม่ปวดดึงเชือกลง เพื่อดึงแขนข้างปวดขึ้น ให้สูงมากที่สุด ทำ 10 เที่ยว
7. ท่าใช้ผ้าถูหลัง มือที่อยู่ด้านบนดึงผ้าขึ้นให้มากที่สุด ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วทำสลับ มือด้านล่างดึงผ้าลงให้มากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 ทำ 10 เที่ยว
ภาพประกอบจาก : อินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์ที่ระบุใต้รูป