ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

สุดยอดไดเอท ปี 2018

สุดยอดไดเอท...ปี

สุดยอดไดเอท ปี 2018 โดย U.S. News & World Report ได้จัดให้มีการประเมินสุดยอดไดเอทของสหรัฐอเมริกา โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและโภชนาการ โดยมีการประเมินสูตรไดเอทกว่า 40 สูตร แบ่งออกเป็น 7 หมวดหมู่ วันนี้เรามาดูสุดยอดไดเอท…ปี 2018 มีทั้งหมด 3 หมวดหมู่สำคัญ ๆ กัน มีอะไรบ้างมาติดตามกันค่ะ 

 

สุดยอดไดเอท สำหรับการลดความอ้วน

โดยส่วนใหญ่แล้ว การลดความอ้วน หรือลดน้ำหนัก คือ เป้าหมายหลักของการเข้าร่วมโปรแกรมไดเอท ทั้งนี้การลดน้ำหนักเป็นเรื่องยาก แต่การลดน้ำหนักแล้วทำให้มันคงที่นั้นยากยิ่งกว่า จากการศึกษาพบว่า 30 – 35% ของผู้ที่ลดความอ้วนสำเร็จ จะกลับมาอ้วนเหมือนเดิมภายใน 1 ปี ดังนั้น สูตรไดเอทที่ดีต้องทั้งลดน้ำหนักได้เร็ว และรักษาน้ำหนักให้คงที่ในระยะยาวได้ด้วย

อันดับ 1 โปรแกรมของ Weight Watchers โดยได้คะแนนการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว  4/5 คะแนน และการรักษาน้ำหนักให้คงที่ในระยะยาว ( 3.5/5 คะแนน) ทั้งนี้ Weight Watchers เป็นบริษัทหนึ่งที่มีชื่อเสียงมายาวนาน ในเรื่องของการกำหนดโปรแกรมอาหารสำหรับการลดน้ำหนัก โดยมีการนำเอาระบบคะแนน ตามคุณค่าทางโภชนาการของอาหารและเครื่องดื่มมาใช้

ผู้เข้าร่วมโปรแกรมจะได้รับคำแนะนำ ว่าสามารถบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม ได้ตามคะแนนที่กำหนด ผู้เชียวชาญระบุว่าเป็นโปรแกรมที่ดี ในเรื่องของการเข้าถึงเครือข่ายทีมสุขภาพ แพทย์ นักโภชนาการ ที่จะคอยสนับสนุน ชี้แนะแนวทางให้สามารถลดน้ำหนัก และรักษาให้มันคงที่ในระยะยาวได้

อันดับที่ 2 Volumetrics Diet ได้คะแนนการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว 3.8/5  และคะแนนการรักษาน้ำหนักให้คงที่ในระยะยาว 3.3/5 การไดเอทแบบ Volumetrics Diet ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ บาบาล่า โรล แห่ง Pennsylvania State University เน้นเรื่องการรับประทานอาหารพลังงานต่ำในปริมาณสูง ซึ่งจะทำให้น้ำหนักลดลง โดยที่ไม่รู้สึกว่ากำลังควบคุมอาหาร อาหารที่แนะนำ ได้แก่ ผลไม้ นมไขมันต่ำ ผลิตภัณฑ์จากนม ธัญพืช ถั่ว ปลาไขมันต่ำ ผัก เนื้อสัตว์ปีกไม่ติดหนัง หรือเนื้อไม่ติดมัน อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่ เนยแข็ง ลูกอม เครื่องดื่มรสหวาน และคุกกี้ เป็นต้น การรับประทานอาหารวิธีนี้ ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถช่วยลดน้ำหนัก และเป็นการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย

 

สุดยอดไดเอท สำหรับสุขภาพหัวใจ

ปัญหาด้านสุขภาพหัวใจ เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั้งในชายและหญิง การรับประทานอาหารผิดประเภทเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และโรคที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วน

อันดับ 1 มี 2  สูตรคะแนนพอ ๆ กัน คือ Dietary Approaches to Stop Hypertension (DASH) diet พัฒนาโดย National Heart, Lung, and Blood และได้รับการแนะนำจากสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา ให้เป็นแนวทางในการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งหลักการสำคัญ คือ ลดการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาล เกลือโซเดียม ไขมันอิ่มตัว ไขมันรวม และคลอเรสเตอรอลลง และเพิ่มการรับประทานใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช รวมทั้งโปรตีนจากปลา เนื้อสัตว์ปีก แคลเซียม แร่ธาตุต่าง ๆ รวมถึงสารไนเตรทที่มีผลการศึกษาถึงการลดความดันโลหิตสูงได้ DASH diet ยังได้ตำแหน่ง  the best overall diet  อีกด้วย และ  Mediterranean diet ที่เน้นการรับประทานปลา และอาหารทะเลเป็นหลัก อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ควบคู่ไปกับการทานผัก ผลไม้ พืชตระกูลถั่ว และธัญพืชขัดสีน้อย มีเส้นใยอาหารสูง เช่น ข้าวกล้อง ถั่วเมล็ดแห้ง งา ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาเล่ย์ เป็นต้น

อันดับ 2  Ornish diet ของนายแพทย์ ออร์นิช แพทย์โรคหัวใจที่มีชื่อเสียง เน้นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและอาหารการกิน โดยสูตรอาหารจะเป็นแนวมังสวิรัติ เน้นการกินพืช ผัก ธัญพืชต่าง ๆ เลี่ยงเนื้อสัตว์ ไก่ ปลา จำกัดพลังงานจากการรับประทานไขมันไม่ให้เกิน 10% ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน  Ornish diet แบ่งอาหารออกเป็น 5 กลุ่ม (Spectrum of foods) จากกลุ่ม 1 อาหารที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุด ไปจนถึงกลุ่มที่ 5 ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

 

สุดยอดไดเอท สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน

อันดับ 1 Mediterranean diet นอกจากจะดีต่อสุขภาพหัวใจแล้ว ไดเอทแบบนี้ยังเหมาะกับผู้เป็นโรคเบาหวานอีกด้วย โดยได้อันดับ 1 3.7/5 คะแนน ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า Mediterranean diet เป็นทางเลือกที่ดีในการป้องกัน และควบคุมโรคเบาหวาน โดยมีงานวิจัยบางชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อได้ทานอาหารตามสูตรไดเอทแบบ Mediterranean diet มีระดับน้ำตาลในเลือด หรือ hemoglobin A1C ที่ดีขึ้น

อันดับ 2 DASH diet นอกจากดีต่อสุขภาพหัวใจแล้ว ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า DASH diet ยังมีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานอีกด้วยทั้งนี้ ไม่ว่าคุณจะเลือกวิธีการไดเอทแบบไหน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำควบคู่กันไป สำหรับผู้ใหญ่ แนะนำให้ออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกายระดับหนักปานกลาง (Moderate-intensity) เช่น วิ่งเร็วพอประมาณ นานอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือออกกำลังกายแบบแอโรบิคแบบหนักมาก (Vigorous-intensity aerobic activity) นานอย่างน้อย 75 นาทีต่อสัปดาห์

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งข้อมูล: www.medicalnewstoday.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก