ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

ทำอย่างไรกับการที่ลูกใช้โทรศัพท์

ทำอย่างไรกับการที่ลูกใช้โทรศัพท์

เหนื่อยไหมกับการพูดคำว่า “ไม่” กับลูก โดยเฉพาะเรื่องการใช้โทรศัพท์ การเล่นเกมส์ การดูการ์ตูน หรือแม้กระทั่งการดูยูทูป

 

ทุกวันนี้ใครเดินทางด้วยยานพาหนะสาธารณะบ้าง เมื่อปี 2539 หมอได้มีโอกาสไปอยู่ญี่ปุ่น เป็นเวลา 1 เดือน จำได้ว่าโตเกียวตอนนั้น ในรถสาธารณะรถไฟฟ้า คนสูงอายุขึ้นรถก็จะนั่งหลับตา ก้มหน้า เอาหนังสือมาอ่าน เพราะเด็กวัยรุ่นที่ขึ้นมาจะมีการแสดงความรักกันอย่างเปิดเผย โดยเฉพาะการสัมผัส กอด จูบ ลูบ คลำ ยังเป็นยุคที่ไม่มีโทรศัพท์ ไวไฟในที่สาธารณะ ตอนนั้นจำได้ว่า แอบดีใจที่บ้านเราไม่มีแบบนี้  แต่ตอนนี้ในบ้านเราตอนขึ้นรถไฟฟ้า  ลองมองไปรอบ ๆ ตัว จะมีเรื่องน่าสนใจ มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้โดยสารเป็นโรคยอดนิยม คือ โรคก้มหน้าก้มตา  ทุกครั้งที่หมอขึ้นรถไฟฟ้า หมอจะพยายามไม่ใช้โทรศัพท์ โดยเฉพาะการสนทนา เพราะทุกคนจะได้ยินหมด แต่ก็มีคนที่เปิดเผย คุยแบบไม่มีการปิดบังใคร เราไม่อยากได้ยินก็ต้องพลอยฟัง และกลายเป็นรู้เรื่องกับเขาไปด้วย แต่ถ้าเราใช้เวลานั้นมองดูรอบ ๆ เราจะแทบไม่อยากมีโทรศัพท์เลยทีเดียว  ยิ่งเห็นภาพที่ถูกส่งกันมา เป็นภาพพระสงฆ์ยืนในรถไฟฟ้า เห็นแล้วมีความคิดกระจัดกระจายกันยังไงบ้างคะ

ทุกคนรู้ดีว่า ถ้าเราลดการใช้โทรศัพท์ โดยเฉพาะเวลาที่เราอยู่บ้าน อยู่กับครอบครัว  ลูกเราก็จะลดการใช้ไปด้วย แต่ทุกวันนี้แม้แต่การที่พาลูกมาหาหมอ มานั่งรอตรวจ ก็จะเห็นว่า มีทั้งพ่อ หรือแม่ หรือลูก ก้มหน้าก้มตา และเมื่อเดินเข้ามาตรวจ ระหว่างการคุย อยากให้ลูกเงียบก็ยื่นโทรศัพท์ให้ลูก เปิดการ์ตูน เปิดยูทูป ถ้าเด็กโตหน่อยก็ห้ามยากขึ้น ไม่เคยเห็นพ่อแม่ห้ามสำเร็จสักที แต่ไม่ใช่ว่าพ่อแม่ทุกคนเป็นแบบนี้กันหมดนะคะ มีกลุ่มที่ไม่ให้ลูกใช้ก็เยอะเช่นกันค่ะ เด็กกลุ่มนี้ก็จะช่างคุย ช่างคิด ช่างถาม พัฒนาการทางด้านภาษา การสื่อสาร จะต่างกับในกลุ่มที่ใช้ชัดเจน  เช่น ห้ามใช้ระหว่างทานอาหาร ก็ต้องมีบทสนทนาที่น่าสนใจแทน กลายเป็นว่าไม่ค่อยมีเรื่องราวมาคุยกัน แถมการพูดคุยน้อยลงไปโดยปริยาย มีอะไรก็ส่งเป็นข้อความแทน ไม่ชอบคุย หมอกลับมองว่า ถ้าไม่เห็นหน้า อย่างน้อยโทนเสียงก็บอกอารมณ์ของผู้พูดได้ว่า เราควรจะฟัง หรือปลอบ หรือควรจะหยุด

มีคนเคยบอกว่า ยกเว้นนั่งในเครื่องบิน หรือรถ อนุญาตให้เด็กเล่นได้ แต่บนเครื่องบิน มีอุปกรณ์ระบายสี วาดรูป หรือขีดเขียน ที่เครื่องบินเคยแจกสมัยลูกหมอยังเล็ก แต่ตอนนี้สายการบินประหยัดของพวกนี้ไปเลย เพราะไม่มีใครขอให้ลูก แถม แอร์ก็ไม่แจกไปด้วย เลยไม่รู้ว่ายังมีไหม การอ่านหนังสือ แทบจะตกอยู่ในกลุ่มของคนรุ่นหมอซะส่วนใหญ่ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเราเลือก และเราเลือกที่จะใช้ หรือไม่ใช้ได้  ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เช่นนี้ พ่อแม่สามารถทำได้ แต่มีข้อแม้ว่า ต้องสม่ำเสมอ และต้องมีความเห็นที่ตรงกัน คำถามที่ต้องตอบลูกได้ คือ ทำไมพ่อแม่ใช้ได้ ทำไมลูกใช้ไม่ได้ พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีของลูกเสมอไม่ว่าในทางบวก หรือทางลบ

บนโต๊ะอาหาร ครอบครัวไหนให้ลูกใช้โทรศัทพ์ระหว่างทานข้าวบ้าง พวกเราที่เป็นพ่อแม่คงไม่คาดคิดว่าการให้ลูกดูการ์ตูน ยูทูป ตอนเล็ก ๆ ระหว่างเราทำงาน หรือป้อนข้าวลูก หรือกล่อมลูกนอน มันจะมีผลในระยะยาว คิด ๆ ดูเหมือนสารเสพติดที่ขาดไม่ได้ในชีวิต ไม่ทำอะไรนอกจากจ้องเข้าไปในจอ เป็นซอมบี้ดี ๆ นี่เอง  หมอเชื่อว่าพ่อแม่หลายคนคงอยากให้ลูกใช้เวลาอยู่กับของพวกนี้น้อยลง

 

ต้องทำยังไง ตามทฤษฎีในเด็กน้อยกว่า 6 ขวบ ราชวิทยาลัยให้ใช้ไม่เกินวันละ 1 ชม. ยากใช่ไหมคะ

ถ้ามีเพื่อนบ้านที่มีลูกอายุไล่เลี่ยกัน ลองคุยกันดูค่ะ หาเวลาตรงกัน มารวมกลุ่มกัน พาลูกไปเล่นด้วยกัน หรือพาลูกเดินหลังทานอาหาร พาลูกไปจ่ายกับข้าว ตลาดนัดหลังบ้าน หรือแม้แต่ในห้าง ชี้ให้ลูกดูว่าอะไรคืออะไร สร้างบทสนทนา สอนคิดเลข อย่าปล่อยให้ลูกอยู่กับพี่เลี้ยง หรือโทรศัพท์ เวลาที่อยู่กับลูกเป็นเวลาทอง แต่ละครอบครัวมีเวลา และวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ถ้าไม่อยากให้ลูกใช้ของพวกนี้ การไม่มี ไม่ซื้อ ก็เป็นวิธีหนึ่งนะคะ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความเหมาะสม การยอมรับได้ ของแต่ละครอบครัวก็ต่างกัน ไม่ได้เขียนเรื่องนี้ขึ้นเพราะอยากให้เลิกใช้ แต่เขียนขึ้นเพื่อบอกว่าทุกคนมีทางเลือกของตัวเอง และไม่ว่าตัดสินใจอย่างไร ผลที่เกิดขึ้นกับลูกในอนาคต ก็ต้องยอมรับได้ ปรับไปตามแต่ครอบครัวกันนะ

 

ภาพประกอบจาก: www.freepik.com

 

พญ. ดนยา เหมธัญ

พญ. ดนยา เหมธัญ กุมารแพทย์ จบจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยเป็นอาจารย์แพทย์ เป็นหมอเด็กทั่วไป เป็นหมอออกตรวจตามสถานที่ (house call) เป็นนักเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับเด็กในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น bali advertiser และหนังสือพิมพ์ระดับประเทศ The Jakarta post เป็นแม่ของลูก เป็นหมอของครอบครัวชาวสมุย เป็นช่างภาพ shutterstock หัดวาดภาพสีอะคริลิก เรียนเรกิ และได้รับใบประกาศ therapeutic life coaching, ปัจจุบันหันมาศึกษาเรื่อง แพทย์ทางเลือก และมะเร็ง


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก