ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

แบนสารเคมี…เพื่อสุขภาพคนไทย “พาราควอต ไกลโฟเซต ครอร์ไพริฟอส”

แบนสารเคมี...เพื่อสุขภาพคนไทย

ข่าวคราวการลงมติยกเลิกการใช้ 3 สารเคมี ได้แก่ พาราควอต (Paraquat) ครอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) และไกลโฟเซต (Glyphosate) โดยคณะกรรมการวัตถุอันตราย ภายหลังได้มีฝ่ายที่ออกมาสนับสนุน และฝ่ายที่ออกมาต่อต้านมติดังกล่าว โอกาสนี้กองบรรณาธิการ ขอนำเสนอเรื่องของสารเคมีเหล่านี้กัน

 

มีการใช้สารดังกล่าวในการกำจัดศัตรูพืชทั่วโลก มาอย่างยาวนาน

พาราควอตถูกผลิตและจัดจำหน่ายครั้งแรกโดยบริษัท ICI จากประเทศอังกฤษช่วงต้นปี 1962 ต่อมาได้กลายเป็นหนึ่งในสารกำจัดวัชพืชที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก ทั้งในอังกฤษ อเมริกา ยุโรป เอเชีย ด้วยข้อดีในเรื่องของประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืช เช่น การฆ่าหญ้า และเรื่องต้นทุนที่ต่ำกว่าสารเคมีตัวอื่น

ส่วนไกลโฟเซตเริ่มผลิตจำหน่ายโดยบริษัทจากสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ทศวรรษ 1970 เป็นสารกำจัดวัชพืชที่สามารถใช้ได้ทั้งการฉีดพ่นหรือหยอดที่ยอด โดยมีปริมาณการใช้งานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ทั้งในด้านการทำเกษตรและการตกแต่งสวน ปัจจุบันสิทธิบัตรที่เป็นแบรนด์หรือชื่อทางการค้าตั้งต้นได้หมดลง จึงมีการผลิตและจำหน่ายไกลโฟเซตในท้องตลาดออกมาอีกหลายแบรนด์

สำหรับครอร์ไพริฟอสเป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืช ผลิตจำหน่ายโดยกลุ่มบริษัทจากสหรัฐอเมริกามานานกว่า 50 ปี กรมวิชาการแนะให้มีการใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชทั้งชนิดปากกัดและปากดูด อาทิ หนอนเจาะสมอฝ้าย เสี้ยนดิน เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น ด้วงงวงมันเทศ ผีเสื้อข้าวเปลือก ด้วงงวงข้าว ด้วงงวงข้าวโพด เป็นต้น โดยพืชที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง มันเทศ ข้าวเปลือกที่ใช้ทำพันธุ์ นุ่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว และกล้วย

 

มีผลการศึกษาทางด้านความเป็นพิษ ออกมาอย่างต่อเนื่อง

ภายหลังจากการใช้กันสารเคมีดังกล่าวอย่างแพร่หลาย มีผลของการศึกษาที่เกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นพิษออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยนอกจากความเป็นพิษของสารเคมี เช่น ผิวหนังเป็นแผลพุพอง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียถ่ายเป็นเลือด โดยขึ้นกับปริมาณสารเคมีที่สะสมในร่างกายแล้ว ยังมีการศึกษาพบว่าการใช้พาราควอตสามารถส่งผลเสียต่อตับ ไต หัวใจ ระบบทางเดินหายใจ รวมถึงออกฤทธิ์ทำลายสมอง และทำให้เสี่ยงต่อการเป็นพาร์กินสันมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า นอกจากนี้ยังมีการศึกษาโดย ศ. ดร. พรพิมล กองทิพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบการตกค้างของพาราควอตในในซีรัมมารดาและสายสะดือทารกมากถึง 17 – 20% และมีหลักฐานยืนยันว่าพาราควอตในร่างกายแม่ถูกส่งต่อถึงลูกในท้อง

ในส่วนของไกลโฟเซตนั้น สถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้เป็น “สารที่น่าจะก่อมะเร็ง” (probably carcinogenic to humans) ล่าสุดศาลที่สหรัฐอเมริกาได้ตัดสินให้บริษัทผู้ผลิตสารไกลโฟเซตรายใหญ่จ่ายค่าเสียหายมูลค่า 289 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับผู้ป่วยมะเร็งซึ่งมีประวัติการใช้สารดังกล่าวเป็นประจำ และยังมีคดีฟ้องร้องในเรื่องดังกล่าวอีกกว่า 5,000 รายทั่วอเมริกา สำหรับครอร์ไพริฟอสมีการศึกษาพบความเป็นพิษต่อเด็กเป็นจำนวนมาก พบว่าสมองเด็กมีลักษณะผิดปกติ ความเป็นพิษต่อระบบประสาทโดยเฉพาะด้านการเรียนรู้และความจำ นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมและลำไส้อีกด้วย

 

หลาย ๆ ประเทศมีการประกาศห้ามหรือจำกัดการใช้

ข้อมูลจากทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านหรือ “แบน” การใช้สารดังกล่าว มีออกมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีหลายประเทศที่มีการประกาศห้ามหรือจำกัดการใช้สารเคมีดังกล่าว อาทิ พาราควอตมีมากกว่า 50 ประเทศที่ประกาศห้ามใช้ เช่น อังกฤษ สวีเดน สเปน มาเลเซีย กัมพูชา ลาว เวียดนาม และอีกหลายประเทศที่จำกัดการใช้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สหรัฐ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น ไกลโฟเซตมีหลายประเทศที่ประกาศห้ามใช้ เช่น ออสเตรีย ฝรั่งเศส โอมาน ซาอุดิอาระเบีย เวียดนาม เป็นต้น และคลอร์ไพริฟอส มีหลายประเทศที่ประกาศห้ามใช้เช่นเดียวกัน เช่น สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ สิงคโปร์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี สวีเดน เป็นต้น

 

ล่าสุดประเทศไทยมีมติยกเลิกการใช้ 3 สารเคมีดังกล่าว

ภาพประกอบจาก www.tcijthai.com

จากการข้อมูลผลกระทบสารเคมีปราบศัตรูพืช รวม 4 ปี มีผู้เสียชีวิตจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2,193 ราย เฉลี่ยค่ารักษากว่า 20 ล้านต่อปี ล่าสุดคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีการประชุมพิจารณาข้อมูลในด้านต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้มีการลงมติอย่างเปิดเผย ให้มีการยกเลิกการใช้สารเคมี 3 ตัว โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2562 ทั้งนี้พาราควอตมีผู้ลงคะแนนให้ยกเลิกใช้ 1 ธ.ค. 2562 จำนวน 20 คน มีผู้ลงคะแนนให้ยกเลิกใช้ 1 ธ.ค. 2564 จำนวน 1 คน และจำกัดการใช้ 5 คน ลำดับต่อไปกรมวิชาการเกษตร จะไปดำเนินการยกร่างประกาศกฎกระทรวงว่าด้วยบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น และเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย รวมถึงพิจารณาระยะเวลา ความเหมาะสมในการบริหารจัดการวัตถุอันตรายที่ยังคงเหลืออยู่หลังจากประกาศมีผลบังคับใช้

อย่างไรก็ตามฝ่ายที่คัดค้านเรื่องดังกล่าว ยังสามารถยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง เพื่อขอสิทธิ์คุ้มครองชั่วคราว และสอบถามถึงแนวทางการใช้สารทดแทน จากการแบนสารเคมีดังกล่าวด้วย

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย : กองบรรณาธิการ
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com

ข้อมูลจาก

  1. Wikipedia
  2. เคหการเกษตร, Kehakaset.com
  3. มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
  4. www.eht.sc.mahidol.ac.th

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก