ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

เรื่องต้องรู้ เมื่อประจำเดือนมาเร็ว

เรื่องต้องรู้ เมื่อประจำเดือนมาเร็ว

การมีประจำเดือนครั้งแรกของสาว ๆ ในด้านหนึ่งอาจทำให้ได้สัมผัสถึงธรรมชาติของความเป็นผู้หญิงมากขึ้น ในขณะที่อีกด้าน คือ การต้องเรียนรู้ถึงอาการต่าง ๆ ก่อนการมีประจำเดือน หรือที่เรียกว่า “Premenstrual syndrome (PMS)” และอาการปวดท้องประจำเดือนในช่วงนั้น

           

ปัจจุบันนี้มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การมีประจำเดือนเร็ว หรือก่อนอายุ 12 ปี อาจเชื่อมโยงกับปัญหาด้านสุขภาพหลาย ๆ ด้าน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ผู้หญิงที่มีประจำเดือนเร็ว จำเป็นต้องรู้เท่าทันกับปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น ดังต่อไปนี้

 

ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม

ผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้นถึงร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกในช่วงอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป นั่นเป็นเพราะการเป็นสาวเร็วนั้น มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม

 

ความเสี่ยงต่อการเข้าสู่วัยทองก่อนช่วงวัยปกติ

ข้อมูลจากงานวิจัย ตีพิมพ์ในวารสารที่เกี่ยวกับประจำเดือน ปี 2560 พบว่า ผู้หญิงที่มีประจำเดือนในช่วงอายุ 11 ปี หรือน้อยกว่านั้น มีความเสี่ยงสูงถึง 80 % ในการเข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี ขณะที่มีความเสี่ยงสูงถึง 30% ในการเข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนในช่วงอายุ 40 – 44 ปี เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกในช่วงระหว่างอายุ 12 – 13 ปี

 

ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

มีรายงานพบว่า ผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกในช่วงก่อนอายุ 12 ปี มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ มากกว่าผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกในช่วงอายุ 13 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ยังไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม มีความสัมพันธ์ระหว่างเด็กที่อ้วน ปริมาณเซลล์ไขมันที่มีอยู่มาก อาจส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน และการมีประจำเดือน

 

ความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน

จากข้อมูลก่อนหน้าประจำเดือนมาเร็วกว่าปกติ อาจชักนำให้เข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติ นำมาซึ่งความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุน ทั้งนี้ แนวทางการป้องกันโรคกระดูกพรุนมีหลากหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทานแคลเซียม และทานวิตามินดี และยิ่งร่างกายสามารถสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนได้มากขึ้น ก็จะสามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนได้มากขึ้นตามไปด้วย

 

ความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งรังไข่

มีผลวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่าผู้หญิงที่มีประจำเดือนอายุ 14 ปีขึ้นไป ถึงร้อยละ 51 ทั้งนี้มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วยเช่นกัน

 

ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานไม่ได้มีสาเหตุมาจากการที่ผู้หญิงมีประจำเดือนเร็วกว่าปกติ ความสัมพันธ์อาจเกิดจากไขมันสะสมในร่างกาย เหนี่ยวนำให้มีประจำเดือนที่เร็ว และยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกด้วย

 

ความเสี่ยงต่อภาวะการมีบุตรยาก

ผู้หญิงที่มีประจำเดือนเร็วกว่าปกติ มีแนวโน้มที่ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ลดลง อธิบายง่าย ๆ ก็คือ มีไข่ (Ovarian) ที่พร้อมในการปฏิสนธิน้อยลง  เรื่องนี้อาจต้องปรึกษาสูตินรีแพทย์ เพื่อวางแผนการแก้ไขหากจำเป็น

 

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ   
แหล่งข้อมูล: www.womenshealthmag.com
ภาพประกอบ: www.istockphoto.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก