ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ (Gastritis) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบ บวม แดง ของเยื่อบุภายในกระเพาะอาหาร อันเนื่องมาจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การกินยาบางชนิด ความเครียด เป็นต้น โดยมีทั้งแบบเฉียบพลัน 1 – 3 อาทิตย์หาย และแบบเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ใช้เวลาเป็นปี โรคนี้เป็นโรคทั่วไป พบได้ในทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งเพศหญิงและเพศชาย

 

อาการ

อาการที่พบบ่อย

  • ปวดท้องแบบแสบท้อง บริเวณลิ้นปี่หรือยอดอก เป็น ๆ หาย ๆ โดยเฉพาะเวลาหิวหรือหลังตื่นนอน บางรายอาจปวดท้องรุนแรงแบบปวดบิดอย่างเฉียบพลัน
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย แน่นอึดอัดท้อง อาหารไม่ย่อยแม้กินอาหารเพียงเล็กน้อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน อาจเบื่ออาหาร
  • กรณีเป็นรุนแรง อาจมีการอาเจียนเป็นเลือดหรืออุจจาระมีสีดำจากเลือดที่ออกในกระเพาะ และอาจเป็นแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer) หรือโรคร้ายแรงอื่น ๆในกระเพาะ

เมื่อไรควรไปพบแพทย์
หลาย ๆ คนคุ้นเคยกันดี กับอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย แต่ถ้าพบว่าอาการเหล่านั้นหรืออาการของโรคกระเพาะไม่หายไปภายใน 1 สัปดาห์ หรือหากมีอาการอาเจียนหรือถ่ายอุจาระเป็นสีดำเกิดขึ้น รีบไปพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและวางแผนการรักษาทันที

 

สาเหตุ

มีหลายสาเหตุที่ส่งผลต่อเยื่อเมือกบุกระเพาะอาหาร ทำให้ไม่สามารถป้องกันผนังกระเพาะอาหารได้ น้ำย่อยซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดสูง จึงสามารถเข้าทำลายผนังกระเพาะอาหาร ก่อให้เกิดการอักเสบ และนำไปสู่การเป็นแผลในกระเพาะอาหาร สาเหตุดังกล่าว ได้แก่

  • การติดเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะ pylori ซึ่งปนเปื้อนอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม
  • การใช้ยาบรรเทาปวดเป็นประจำหรือใช้ยามากเกินไป ยาที่พบบ่อย เช่น แอสไพริน (Aspirin), ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen), นาพรอกเซน (Naproxen) ส่งผลให้ความสามารถในการป้องกันผนังกระเพาะอาหารลดลง สามารถทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง
  • การมีอายุมากขึ้น อายุมากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะอักเสบเพิ่มขึ้น เนื่องจากเยื่อบุกระเพาะอาหารมีแนวโน้มที่จะบางลง นอกจากนี้คนสูงอายุยังมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อ pylori หรือความผิดปกติของภูมิต้านทานตนเองมากกว่าคนในวัยอื่น
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป แอลกอฮอล์ทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคือง กระตุ้นให้มีการสร้างกรดเพิ่มมากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบแบบเฉียบพลัน
  • ความเครียดโดยเฉพาะความเครียดที่รุนแรง จะกระตุ้นให้เซลล์กระเพาะอาหารหลั่งกรดเพิ่มขึ้น ซึ่งกรดก่อให้เกิดการระคายเคือง และทำให้เซลล์เยื่อเมือกบุกระเพาะอาหารอักเสบ
  • โรคภูมิแพ้ตนเอง (Autoimmune disease) ผู้ป่วย Autoimmune gastritis จะมีอาการกระเพาะอาหารอักเสบ จากการที่เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เข้าโจมตีเซลล์ที่ประกอบเป็นเยื่อบุกระเพาะอาหารจนก่อให้เกิดการอักเสบตามมา
  • โรคและภาวะอื่น ๆ เช่น โรคติดเชื้อ HIV โรคโครห์น (Crohn’s disease) และการติดเชื้อปรสิต

 

การวินิจฉัย

แพทย์จะสอบถามประวัติ อาการเบื้องต้น การตรวจร่างกาย ในบางรายแพทย์จะพิจารณาเลือกการตรวจพิเศษเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงเป็นการเพิ่มเติม เช่น

  • การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร (Endoscopy) โดยแพทย์จะสอดท่อที่มีความยืดหยุ่นสูงพร้อมกับเลนส์กล้อง ลงไปในลำคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร เข้าสู่ลำไส้เล็กเพื่อตรวจหาการอักเสบ ในกรณีที่พบชิ้นเนื้อที่ผิดปกติ แพทย์สามารถตัดชื้นเนื้อขนาดเล็กเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป
  • การเอกซเรย์กระเพาะอาหารด้วยการกลืนแป้งแบเรียม (Barium swallow) วิธีนี้สามารถสร้างภาพของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก เพื่อมองหาความผิดปกติ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ก้อนต่าง ๆ ได้ชัดขึ้น
  • การตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย pyroli แพทย์อาจพิจารณาการตรวจหาเชื้อดังกล่าว ซึ่งสามารถพบได้จากการตรวจเลือด ตรวจอุจจาระหรือจากการทดสอบลมหายใจ

 

การรักษา

  • การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อโรค หากพบว่า การอักเสบนั้นเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย pyroli เช่น ยาคลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin) ยาอมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) หรือยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole)
  • การบรรเทาอาการปวดท้อง ยาที่นิยมใช้คือ ยาธาตุน้ำขาว (Alum milk) หรือใช้เป็นยาเม็ดอลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์ก็ได้ผลเช่นกัน ซึ่งในกรณีของยาเม็ดควรเคี้ยวก่อนกลืน เพราะยาเม็ดบางชนิดแตกตัวในกระเพาะอาหารช้า ยากลุ่มนี้จะรับประทานก่อนอาหาร 3 เวลา หรืออาจรับประทานเพิ่มเติมเมื่อมีการปวดระหว่างมื้อ  นอกจากนี้ควรเลี่ยงอาหารรสจัด น้ำอัดลม กาแฟซึ่งอาจกระตุ้นอาการปวดท้อง
  • การรักษาการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ใช้ยารักษานาน 14 วัน นิยมใช้ยาลดการหลั่งกรด (Acid suppression) ได้แก่ ยากลุ่ม H2 receptor antagonists เช่น ซัยเมททิดีน (cimetidine), รานิทิดีน (ranitidine) หรือยากลุ่ม Proton pump inhibitors โอมิพราโซล (omeprazole), แลนโซพราโซล (lanzoprazole) เพราะหาซื้อได้สะดวกตามร้านขายยา ส่วนยากลุ่ม Cytoprotective เช่น Sucralfate หรือ Bismuth ก็สามารถใช้ได้
  • การป้องกันการเกิดซ้ำ เน้นการปรับพฤติกรรม เช่น หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด หรือยาแก้ปวดข้อ การออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพแข็งแรงก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันโรค
  • การป้องกันภาวะแทรกซ้อน ส่วนใหญ่ภาวะแทรกซ้อนมักเกิดจากยาแก้ปวดข้อ เนื่องจากยานี้จะลดอาการปวดได้ขณะที่ยากัดกระเพาะ ทำให้อาการปวดท้องซึ่งเป็นอาการเตือนถูกบดบัง ภาวะแทรกซ้อนมักเกิดในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นแผลในกระเพาะมาก่อน ผู้ป่วยที่รับประทานยาชุด-ยาลูกกลอน เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมา การรักษามักจะต้องใช้การส่องกล้องรักษาหรืออาจต้องผ่าตัดถ้ามีกระเพาะอาหารทะลุ

 

ข้อแนะนำและการป้องกัน

  • กินยาตามแพทย์แนะนำให้ถูกต้อง และสม่ำเสมอ
  • ฝึกสังเกต พร้อมงดอาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดอาการ หรือทำให้อาการแย่ลง เช่น แอลกอฮอล์ คาเฟอีน เป็นต้น
  • ปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เพื่อลดความเครียด
  • รักษาความสะอาดการกิน อยู่ หลับ นอน เพื่อหลีกเลี่ยงเชื้อโรค
  • ปรึกษาแพทย์ กรณีที่ต้องใช้ยาแก้ปวดอย่างต่อเนื่อง

 

แหล่งข้อมูล : www.honestdocs.co  www.mayoclinic.org  www.vibhavadi.com

ภาพประกอบ : www.freepik.com

 

กองบรรณาธิการ

Health2click เน้นการจัดทำและนำเสนอเนื้อหา สำหรับผู้สนใจทางด้านสุขภาพ ที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน อายุระหว่าง 25-50 ปี โดยทีมงานยินดีรับคำแนะนำ คำติชม หรือรับบทความดี ๆ โดยสามารถส่งมาได้ที่ project.hw2016@gmail.com ทางทีมงานจะมีของสมนาคุณตามความเหมาะสม


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก