การจดทะเบียนหย่า
การหย่าร้างนั้น เป็นอีกหนึ่งวิธีของการสิ้นสุดการสมรส และถือเป็นหนทางสุดท้ายของการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ซึ่งเมื่อคู่สมรสไม่สามารถใช้ชีวิตคู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขอีกต่อไป ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะทนอยู่ แต่ก่อนที่จะด่วนตัดสินใจอะไรลงไปนั้น
การจดทะเบียนหย่า
การจดทะเบียนหย่า นั้นมีวิธีปฏิบัติได้ 2 วิธี ดังนี้
- การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย กระทำได้ 2 กรณี คือ การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน และการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน
- การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลสำหรับเอกสาร ที่ใช้ในการติดต่อขอจดทะเบียนหย่าทั้งในสำนักทะเบียนและต่างสำนักทะเบียน ก็ใช้เพียงแค่บัตรประจำตัวประชาชน ใบสำคัญการสมรส และหนังสือหย่า หรือหนังสือสัญญาหย่า
ขั้นตอนในการติดต่อเพื่อขอจดทะเบียนหย่าโดยความยินยอม
แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
- กรณีจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน คู่หย่าต้องตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่าและยื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน
- กรณีจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียนคู่หย่าต้องตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า พร้อมทั้งตกลงกันก่อนว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องก่อนหลัง และแต่ละฝ่ายจะยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนใด เสร็จแล้วก็ไปยื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนตามที่ได้ตกลงกันไว้ ส่วนขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนหย่า กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาลนั้น หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วคู่หย่าไม่ต้องเดินทางไปจดทะเบียนหย่าอีก แต่หากศาลมีคำสั่งให้คู่สมรสหย่าขาดจากกันโดยมีเงื่อนไขให้ไปจดทะเบียนการหย่าตามกำหนดวันเวลาที่ศาลสั่งแล้ว กรณีนี้คู่หย่าจะต้องไปจดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนการสมรสจึงจะสิ้นสุด
อย่างไรก็ตาม ขอฝากไว้ว่า แต่ละคนต่างมีเหตุผลของตนเอง ซึ่งการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันนั้น ไม่สามารถใช้เหตุผลแต่เพียงอย่างเดียวได้ ควรจะใช้ความรักและความเข้าใจควบคู่กันไปด้วย แต่ถ้าหากใช้ความพยายามในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันอย่างถึงที่สุดแล้ว ก็ขอให้การหย่าร้างเป็นหนทางสุดท้ายในการตัดสินใจจบความสัมพันธ์ และนี่เป็นอีกหนึ่งสาระเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการทะเบียน ซึ่งพี่น้องประชาชนทุกท่านสามารถนำไปใช้ในการติดต่อราชการได้ และในโอกาสหน้าจะได้นำเสนอความรู้ในด้านอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
ผลของการหย่า
ผลของการหย่าโดยความยินยอม การหย่าโดยความยินยอมนั้น ถ้าการสมรสเป็นการสมรสที่ไม่ต้องจดทะเบียน (การสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย) การหย่าโดยความยินยอมก็มีผลทันทีที่ทำเป็นหนังสือถูกต้อง และลงลายมือ ชื่อทั้ง 2 ฝ่าย พร้อมทั้งมีพยานรับรอง 2 คน แต่ถ้าการสมรสนั้นเป็นการสมรสที่ต้องจดทะเบียน (ตามบรรพ 5) การหย่าโดยความยินยอมนั้นนอกจากจะต้องทำเป็นหนังสือแล้ว ยังต้องไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภออีกด้วย การหย่าจึงจะมีผลตามกฎหมาย
1.1 ผลของการหย่าต่อบุตร คือ
ใครจะเป็นผู้ปกครองบุตร ตามกฎหมาย ให้ตกลงกันเองได้ ถ้าตกลงกันไม่ได้ หรือไม่ได้ตกลง ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ใครจะเป็นคนจ่ายก็เช่นกันคือให้ตกลงกันเองว่า ใครจะเป็นผู้จ่ายถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
1.2 ผลเกี่ยวกับสามีภริยา
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาสิ้นสุดลงทันที และไม่มีหน้าที่ใด ๆ ต่อกันเลย
1.3 ผลเกี่ยวกับทรัพย์สิน
ให้แบ่งทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสระหว่างสามีภริยาคนละครึ่ง โดยเอาจำนวนทรัพย์ที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าเป็นเกณฑ์
ผลของการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลนั้นมีผลตั้งแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้จะยังไม่จดทะเบียนหย่าก็ตาม ดังนั้น ความเป็นสามีภริยาจึงขาดลงตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป
2.1 ผลเกี่ยวกับบุตร
- ใครเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ปกติแล้วฝ่ายชนะคดีจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง แต่ศาลอาจกำหนดเป็นอย่างอื่นก็ได้
- เรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดู ศาลเป็นผู้กำหนด
2.2 ผลเกี่ยวกับคู่สมรส
แม้กฎหมายจะถือว่า การสมรสสิ้นสุดลงนับแต่ ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดก็ตาม แต่ในระหว่างคู่สมรสก็เกิดผลทางกฎหมายบางประการคือ
มีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้
- ค่าทดแทนจากสามีที่อุปการะหญิงอื่นหรือจากภริยาที่มีชู้และ จากชายชู้หรือหรือหญิงอื่นแล้วแต่กรณี
- ค่าทดแทนเพราะเหตุหย่าตามข้อ 3.2 (3), (4), (8) โดยเป็นเพราะความผิดของอีกฝ่ายหนึ่ง
มีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ ต้องเข้าหลักเกณฑ์คือ
- เหตุแห่งการหย่านั้นเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพียงอย่างเดียว
- การหย่านั้นทำให้อีกฝ่ายยากจนลง เพราะไม่มีรายได้จากทรัพย์สิน หรือการงานที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส แต่อย่างไรก็ตาม สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพนี้กฎหมาย กำหนดว่า จะต้องฟ้องหรือฟ้องแย้งมาในคดีที่ฟ้องหย่าด้วย มิฉะนั้นก็หมดสิทธิ
เอกสารประกอบการจดทะเบียนหย่า
- บัตรประจำตัวประชาชนฝ่ายชาย/ฝ่ายหญิงที่ยังไม่หมดอายุ
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านของคู่หย่า ใบสำคัญการสมรสทั้ง 2 ฉบับ เอกสารการเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
- พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน ข้อตกลงการหย่า
- สูติบัตรหรือทะเบียนบ้านของบุตร (กรณีมีบุตร)
- คำร้องจดทะเบียนการหย่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: whatiknow.(2010).การจดทะเบียนหย่า.20 ธันวาคม 2559.
แหล่งที่มา: http://whatiknow.wordpress.com
ภาพประกอบจาก: www.freepik.com