ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

เครียดจากความคาดหวัง อุปสรรคสำคัญของ “นิชิโนะ”

เครียดจากความคาดหวัง อุปสรรคสำคัญของ นิชิโนะ

ชั่วโมงนี้ใครที่เป็นคอฟุตบอลหรือเล่นกีฬา คงเฝ้าติดตามการซ้อมของนักฟุตบอลทีมชาติไทย ภายใต้การนำทีมของ “นิชิโนะ” กุนซือใหญ่ชาวญี่ปุ่น ที่มีประวัติยิ่งใหญ่ อย่างการเป็นโค้ชพาทีมชาติญี่ปุ่นชนะทีมชาติบราซิล โค้ชยอดเยี่ยมเจลีก โค้ชยอดเยี่ยมเอเชีย โค้ชที่พาญี่ปุ่นลุยฟุตบอลโลกและทำผลงานได้ดี จนเป็นที่กล่าวขวัญกันถึงทุกวันนี้

 

การมาของโค้ชนิชิโนะ ต่อเติมความหวังให้กับกองเชียร์ชาวไทย

ข่าวคราวความพ่ายแพ้ของทีมชาติไทยต่อทีมชาติในอาเซียนติดต่อกันหลายครั้ง ทั้งที่ทีมชาติไทยเคยผูกปีชนะมาตลอด โดยเฉพาะทีมชาติเวียดนาม ที่ช่วงหลังทีมชาติไทยแพ้ตั้งแต่ชุดเล็กยันชุดใหญ่ จนล่าสุดทีมชาติไทยเสียความเป็นอันดับ 1 ของอาเซียนให้กับทีมชาติเวียดนามไป ทำให้เกิดกระแสกดดันไปที่สมาคมฟุตบอลฯ ในการสรรหาโค้ชทีมชาติ และยังกดดันไปถึงตัวผู้เล่นทีมชาติว่า ในที่สุดแล้วโค้ชจะเลือกได้อย่างเหมาะสมไหม ใช้หลักเกณฑ์อะไร รูปแบบการเล่นจะเป็นอย่างไร ผู้เล่นจะปฏิบัติตามได้ดีขนาดไหน มีโอกาสจะชนะมากน้อยแค่ไหน หากพ่ายแพ้หมดรูปจะทำอย่างไร และยังมีอีกหลายเรื่องที่อยู่ในความสนใจ

 

กองเชียร์รวมถึงคนในวงการฟุตบอล มีความคาดหวังที่สูง

เหลืออีกไม่กี่วันจะถึงวันที่ 5 กันยายน ซึ่งเป็นวันแข่งขันฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบ 2 กลุ่มจี ที่ทีมชาติไทยจะพบกับทีมชาติเวียดนาม  เท่าที่จับกระแส พบว่ามีกองเชียร์ทีมชาติไทย สื่อมวลชนสายกีฬา คนในวงการฟุตบอลจำนวนมาก มีความคาดหวังต่อการทำงานของโค้ชนิชิโนะ สูงมาก ส่วนใหญ่คาดหวังว่า ทีมชาติไทยภายใต้การนำทีมของโค้ชนิชิโนะ จะเลือกนักฟุตบอลได้อย่างเหมาะสม เลือกแทคติกวิธีการเล่นได้ถูกต้อง และจะชนะทีมชาติเวียดนามต่อหน้าแฟนบอลชาวไทยได้แน่ ๆ สังเกตุได้จากตั๋วการแข่งขันขายหมดในเวลาอันรวดเร็ว

มีเพียงส่วนน้อยที่มองว่า โค้ชนิชิโนะ ยังไม่รู้จักนักเตะไทยดี เวลาเตรียมทีมน้อย ในทีมมีผู้เล่นทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าต้องใช้เวลาปรับตัวสร้างความคุ้นเคย รวมถึงวิธีการจัดการ การเล่น การคิดแบบเจแปนสไตล์ไม่เหมือนกับไทยสไตล์ ทำให้คาดหวังผลการแข่งขันดี ๆ ยาก

 

ความคาดหวังดังกล่าวอาจกดดัน ต่อผู้เล่นหน้าใหม่

ความคาดหวังที่สูง สามารถกดดันให้เกิดความเครียดได้ ในทางทฤษฏีแล้ว ความเครียดที่เหมาะสม (eustress) จะกระตุ้นให้ผู้เล่นเกิดการปรับตัว ปรับปรุงและพัฒนาการเล่นให้ดีขึ้น ในทางกลับกัน ความเครียดที่มากเกินไป จะเส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ เกิดเป็นความไม่สบายใจ (distress) ส่งผลเสียต่อฟอร์มการเล่น ทั้งของตัวเองและของทีม

โดยหลักการแล้ว ความเครียดสำหรับนักกีฬา สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เริ่มจาก

  • พื้นฐานส่วนตัวของนักกีฬาเอง การมีความคิดบางอย่าง เช่น ตั้งใจมากเกินไป คาดหวังในชัยชนะมากเกินไป กลัวเป็นจุดอ่อนของทีม กลัวทีมจะพ่ายแพ้ ฯลฯ ความคิดเหล่านี้สามารถกดดันให้นักกีฬาเครียดได้
  • ฟุตบอลโดยเฉพาะในการแข่งขันแบบจริงจัง ก่อให้เกิดความเครียดได้ง่าย เนื่องจากเป็นกีฬาที่มีการแข่งขันสูง นับตั้งแต่แข่งขันกันภายในทีม อย่างปัจจุบันทีมชาติไทยมีทั้งผู้เล่นหน้าใหม่ ผู้เล่นหน้าเก่า ผู้เล่นจากลีคในประเทศและลีคต่างประเทศ ซึ่งทุกคนล้วนต้องแข่งขันกันเป็นผู้เล่นตัวจริง และต้องพยายามเล่นให้ดีในสนามเพื่อไม่ให้ถูกเปลี่ยนตัว ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ การต้องแข่งขันกับคู่แข่งอย่างทีมชาติเวียดนาม ที่ซ้อมและเตรียมทีมมานานกว่า อีกทั้งปัจจุบันก็ไม่มีทีมจากชาติไหนในอาเชียนที่กลัวทีมชาติไทยแล้ว 
  • สถานการณ์กดดัน การแข่งขันที่จะเกิดในอีกไม่กี่วันนี้ มีความกดดันต่อผู้เล่นในทุกระดับ ไล่ตั้งแต่เพื่อนที่ไม่ติดทีม สโมสรที่สังกัด สมาคมฯ กองเชียร์ทั้งประเทศ และอื่น ๆ โดยมีหลายฝ่ายแสดงความรู้สึกผ่านโซเชียล ออกมาแล้วว่า ไม่สามารถยอมรับผลของความพ่ายแพ้ได้

ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมด อีกทั้งความใหม่ต่อนักเตะไทยของโค้ชนิชิโนะ เวลาเตรียมทีมที่สั้น สามารถเปลี่ยนเป็นแรงกดดันต่อผู้เล่นหน้าใหม่ที่มีโอกาสลงเป็นตัวจริง กลายเป็นความเครียด จนอาจไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้

 

ผลการแข่งขันอาจไม่เป็นใจ “โค้ชนิชิโนะ” ต้องแก้ปัญหาความกดดัน ให้กับผู้เล่นหน้าใหม่

จริงอยู่ จากประสบการณ์ของ “โค้ชนิชิโนะ” น่าจะรู้ดีว่าปัญหาดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้กับผู้เล่นหน้าใหม่ ดังนั้นนอกเหนือจากการโค้ชเรื่องแทคติก รูปแบบและวิธีการเล่นให้กับผู้เล่นทุกคน ซึ่งก็ถือว่ายากถึงยากมากอยู่แล้ว โค้ชนิชิโนะจะต้องสังเกตบุคลิกหรืออารมณ์ของผู้เล่นหน้าใหม่ หาวิธีลดความกดดันจากความคิดของผู้เล่นหน้าใหม่เอง หาวิธีลดความกดดันจากภายนอก เช่น ห้ามเล่นโซเชียล ซ้อมระบบปิด อาจจะต้องใช้วิธีนั่งประกบพูดคุยเป็นรายคน  อีกทั้งยังต้องสร้างสปิริตของความเป็นทีม สนับสนุนและสร้างขวัญกำลังใจให้กับทีม ผสมผสานความสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นใหม่และเก่า ผ่านการซ้อมที่มีระเบียบวินัยแบบเจแปนสไตล์ แต่ผ่อนคลาย ยืดหยุ่นแบบไทยสไตล์

จากที่กล่าวมา ความคาดหวังที่สูง อาจกดดันให้ผู้เล่นทีมชาติ โดยเฉพาะหน้าใหม่ ๆ ทำให้ไม่สามารถโชว์ฟอร์มที่ดี ทำให้ผลการแข่งขันที่ได้อาจไม่เป็นใจ ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยๆกับทีมชาติในเกมที่มีความคาดหวังสูง ถึงจุดนี้ขอแนะนำว่า ควรเผื่อใจไว้บ้างสำหรับกองเชียร์ที่คิดว่าทีมชาติไทยต้องชนะ และสามารถประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น เพราะที่นี่ประเทศไทย ไม่ใช่ญี่ปุ่น

 

เรียบเรียงบทความ : กองบรรณาธิการ
ภาพประกอบจาก : อินเทอร์เน็ต

ข้อมูลอ้างอิง

  1. สยามกีฬา www.siamsport.co.th
  2. ผศ.นพ. พนม เกตมาน. ความเครียดในนักกีฬา. (28 ส.ค. 2562) www.psyclin.co.th

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก