เรื่องของ น้ำตาลในเลือด
เรื่องของ น้ำตาลในเลือด หลังจากลำไส้เล็กย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ได้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือที่เรียกว่า น้ำตาลโมโนแซคคาไรด์ และทำการส่งไปที่ตับเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลโมโนแซคคาไรด์ประเภทอื่นให้กลายเป็นน้ำตาลกลูโคส (Glucose) หลังจากนั้นกลูโคสจะถูกลำเลียงผ่านกระแสเลือด ไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย
โดยธรรมชาติร่างกายมนุษย์จะมีกลไกควบคุมและรักษาระดับของน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่สมดุลของร่างกาย (Homeostasis) เรื่องของ น้ำตาลในเลือด ทั้งนี้มาจากค่าน้ำตาลในเลือดจะมีความผันผวนตลอดทั้งวัน โดยจะมีระดับต่ำในช่วงเช้า ก่อนการรับประทานอาหารมื้อแรก และจะเพิ่มขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร ปกติการวัดระดับน้ำตาลในเลือด จะให้ผู้วัดอดอาหารและน้ำอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
ก่อนทำการวัด โดยระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (Fasting blood sugar, FBS) ในผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานจะอยู่ระหว่าง 70-100 มก./ดล. (mg/dL) กรณีที่ค่าที่ได้มากกว่า 100 มก./ดล. จัดอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) โดยค่าที่วัดได้ระหว่าง 100 – 125 มก./ดล. จัดอยู่ในผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวาน กรณีค่าที่วัดได้มากกว่า 125 มก./ดล. จัดอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีภาวะเบาหวาน และกรณีระดับน้ำตาลที่วัดได้ต่ำกว่า 100 มก./ดล. จัดอยู่ในภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
ทั้งนี้ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงสามารถเกิดได้กับทุกคน เช่น หลังกินอาหารที่มีน้ำตาลหรือแป้งในปริมาณมาก มีภาวะเครียด ไม่ออกกำลังกาย การกินยาบางชนิด โดยระดับน้ำตาลในเลือดอาจสูงอยู่สัก 2 – 3 ชม.
หลังจากนั้นจะกลับเข้าสู่ระดับปกติ อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง ทั้งนี้ผู้ที่วัดได้ค่าระดับน้ำตาลหลังอดอาหารสูงแล้ว ควรได้รับการตรวจยืนยันซ้ำด้วยการทดสอบความทนต่อน้ำตาล (Oral glucose tolerance test : OGTT)
โดยให้ผู้ที่วัดดื่มน้ำตาลกลูโคส และทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังดื่มน้ำตาลไปแล้ว 2 ชั่วโมง ซึ่งค่าปกติจะต่ำกว่า 140 มก./ดล. ถ้าค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 140 – 199 มก./ดล. จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน และถ้ามีค่าที่ได้ตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป จัดอยู่ในกลุ่มที่มีภาวะเบาหวาน
เรียบเรียงข้อมูลโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : th.wikipedia.org www.yaandyou.net
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com