ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

ความปวด (Pain)

การปวด

สมาคมนานาชาติที่ศึกษาเรื่องความปวด (IASP) ได้ให้คำนิยามของคำว่า Pain ไว้ว่า ความปวด (Pain) เป็นประสบการณ์ความรู้สึกที่ไม่สบาย ซึ่งเกิดจากการทำลายเนื้อเยื่อ หรือเสมือนหนึ่งมีการทำลายเนื้อเยื่อ ความปวดจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อน เพราะมีทั้งความรู้สึก อารมณ์ ประสบการณ์ส่วนตัว ตลอดจนปัจจัยทางสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย

 

แบ่งตามระยะเวลาที่เกิด

เราสามารถจำแนกความปวดได้หลายวิธี เช่น ถ้าจำแนกตามระยะเวลาก็จะเป็นความปวดเฉียบพลันและเรื้อรัง 

ความปวดเฉียบพลัน (Acute pain) พบร้อยละ 80 ของความปวดทั้งหมด เป็นความปวดที่เพิ่งเกิดขึ้น มีระยะเวลาของความปวดที่จำกัด ปกติมักไม่เกิน 6 เดือน เป็นความปวดที่มีสาเหตุ เมื่อพยาธิสภาพหายไป อาการปวดก็หายไปด้วย เป็นความปวดที่ประเมินง่ายไม่ซับซ้อน ตัวอย่างความปวดชนิดนี้ เช่น ความปวดแผลหลังผ่าตัด หรือหลังอุบัติเหตุ เป็นต้น

ความปวดเรื้อรัง (Chronic pain) พบร้อยละ15-20 ของความปวดทั้งหมด เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นนานกว่าระยะเวลาสมานของเนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บ และบ่อยครั้งที่ไม่สามารถบ่งชี้ถึงสาเหตุของความปวดได้ ปกติมักเป็นความปวดนานเกิน 6 เดือน การประเมินความปวดเรื้อรังเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ต้องอาศัยระยะเวลา มีเรื่องสภาวะจิตใจร่วมด้วย ตัวอย่างความปวดชนิดนี้ เช่น ปวดเกร็ง
กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณหลังหรือคอ ปวดศีรษะ (ปวดแบบไซนัสอักเสบ) ข้ออักเสบหรือปวดข้อ ความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อในบริเวณที่ปวด อาการชา รู้สึกซ่าๆ หรือความรู้สึกอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน ความปวดเรื้อรังมักมีอาการร่วม คือ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร อารมณ์หงุดหงิด ความกระตือรือร้นและความคิดสร้างสรรค์ลดลง

ความปวดที่เกิดจากมะเร็ง (Cancer pain)  เดิมถูกจัดอยู่ในกลุ่มของความปวดเรื้องรัง แต่เนื่องจากสาเหตุของการเกิดความปวด และพยาธิสภาพของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป จะต่างจากความปวดเรื้อรังชนิดอื่นๆ มาก ในปัจจุบันจึงแยกออกมา และมีวิธีการดูแลรักษาต่างกับปวดเรื้อรังชัดเจน

 

แบ่งตามกลไกการเกิด

การจำแนกความปวดอีกวิธีจะใช้พยาธิสภาพที่ทำให้เกิดอาการปวดเป็นตัวจำแนก ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ Nociceptive pain และ Neuropathic pain

Nociceptive pain เป็นความปวดที่มีสาเหตุจากการบาดเจ็บและ/หรือมีการทำลายของเนื้อเยื่อ ส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่มีพยาธิสภาพของโรค หรือการแพร่กระจายของโรคไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน

กลไกการเกิดความปวดชนิดนี้คือ มีการกระตุ้น Nociceptor ตามอวัยวะรับความรู้สึกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจึงเรียกความปวดชนิดนี้ว่า Nociceptive pain ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความปวดชนิดเฉียบพลัน สามารถตรวจพบรอยโรคหรือการทำลายของเนื้อเยื่อนั้นได้ชัดเจน

Neuropathic pain ปวดเส้นประสาท เป็นความปวดซึ่งเป็นผลโดยตรงจากพยาธิสภาพหรือโรคต่อระบบรับความรู้สึกทางกาย (Somatosensory system) อันประกอบไปด้วยระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย โดยรอยโรคที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ก็ก่อให้เกิดอาการปวดเส้นประสาทได้ โดยการปวดเส้นประสาทนั้น สามารถมีอาการปวดได้หลายลักษณะ เช่น ปวดเสียวแปลบเหมือนไฟช็อต (lancinating) แสบร้อน (burning) รู้สึกยิบๆซ่าๆ (tingling) คัน (itching) ชา (paresthesia) ความรู้สึกผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเองหรือเกิดภายหลังการกระตุ้นก็ได้ อาจเกิดอาการเป็นพักๆ หรือตลอดเวลา อาจพบว่ามีการรับรู้ผิดปกติร่วมด้วยก็ได้

 

ทั้ง 2 ลักษณะของความปวด (nociceptive and neuropathic pain) จะตอบสนองต่อวิธีการรักษาแตกต่างกันไป ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่แพทย์จะต้องประเมินเพื่อวางแผนและดำเนินการรักษาได้อย่างถูกต้อง

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
1. 
ผศ.พญ.สหัทยา ไพบูลย์วรชาติ. ความปวดและการประเมินความปวด. www.med.cmu.ac.th
2. 
รศ.พญ.วรรณา ศรีโรจนกุล และคณะ. วิสัญญีวิทยา. PAIN. www.si.mahidol.ac.th
ภาพประกอบจาก : www.marklandclinic.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก