ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

8 โรคยอดฮิต ผู้บริหาร

8 โรคยอดฮิต ผู้บริหาร

ควันบุหรี่เมื่อเอ่ยถึงโรคภัยไข้เจ็บ ผู้ใหญ่อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากกว่าเด็ก เพราะต้องเผชิญกับปัจจัยแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ มากมาย เช่น อาหาร หรือความเครียดที่ต่อแถวหรือไม่ต่อแถว รอเข้ามาไม่ขาดสาย

โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงวัย 30 – 45 ปี อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้สูง โดยจะผันแปรไปตามตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้น โดยเฉพาะตำแหน่งผู้บริหาร ที่จะต้องทนรับกับแรงกดดันจากความรับผิดชอบหลายด้าน ไม่ว่าเรื่องลูกน้องหรือการแข่งขันทางธุรกิจ ส่งผลให้ร่างกายเสื่อมถอยเร็ว มีแนวโน้มต่อการถูกคุกคามด้วยโรคต่างๆ ตามมา

มีรายงานระบุว่า 8 โรคยอดฮิตที่นักบริหารจำนวนไม่น้อยเป็นกันมาก คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (หัวใจขาดเลือด) โรคกระเพาะอาหาร มะเร็งตับ โรคเบาหวาน และโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งแต่ละโรคมีรายละเอียดที่น่าสนใจ พร้อมกับแสดงสัญญาณเตือนที่จะต้องดูแลสุขภาพของตัวเองตามอาการของโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

1. โรคความดันโลหิตสูง

ถือเป็นโรคมาแรงในกลุ่มผู้บริหาร เพราะต้องเผชิญต่อความกดดัน และความเครียดอยู่บ่อยครั้ง ทั้งลูกน้องหรือคนใกล้ตัว ที่สำคัญโรคนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวาย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหัวใจล้มเหลว สำหรับสัญญาณเตือนของโรคดังกล่าวนี้จะมีเสียงดังหวิวๆ หรือหึ่งๆ ในหู หรือได้ยินเสียงชีพจรในศีรษะของตัวเอง เวียนศีรษะ โดยเฉพาะตอนเปลี่ยนอิริยาบถ นอกจากนี้ หากรู้สึกได้ว่าใจสั่นบ่อย หัวใจเต้นแรงผิดปกติ ขาบวม หงุดหงิดโดยไม่มีสาเหตุ ใจเหนื่อยและเพลียผิดปกติ ขอแนะนำให้มาตรวจสุขภาพทันที

 

2. โรคหลอดเลือดสมอง

หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “สโตรก” Stroke เกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะมีการอุดตันของเส้นเลือดที่นำอาหารและออกซิเจน ไปเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้เนื้อสมองเสียหาย อยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โรคสมองขาดเลือด เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และโรคเลือดออกในสมอง เกิดจากหลอดเลือดสมองแตก

 

3. หลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือโรคหัวใจขาดเลือด

โรคนี้เป็นสาเหตุการตายสำคัญอันดับหนึ่งของไทย เกิดจากการตีบ หรืออุดตันของเส้นเลือดจากการสะสมไขมัน คอเลสเตอรอล ทำให้เส้นเลือดแดงไม่สามารถนำเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ตามปกติ ดังนั้น ใครที่มีอาการเจ็บหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับหรือจุกแน่นลึกๆ บริเวณใต้กระดูกหน้าอก หรือหน้าอกด้านซ้าย มักเจ็บตอนที่เดินเร็ว ยกของหนัก หรือวิ่ง หรือเมื่อรู้สึกเครียดที่ต้องทำงานเร่งรีบ ประกอบกับความเครียด ต้องทานอาหารฟาสต์ฟูด ทำให้อ้วน ขาดการออกกำลังกาย

เหล่านี้ล้วนแต่นำมาสู่ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองตีบตัน ซึ่งส่วนใหญ่มักมีอาการเฉียบพลัน ทำให้ “ตาพร่ามัว ปวดศีรษะเฉียบพลันแบบไม่ทราบสาเหตุ แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก วิงเวียนหรือวูบแบบเฉียบพลัน” หากถึงมือแพทย์ช้าอาจเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตตลอดชีวิต

 

4. โรคกระเพาะอาหาร

เป็นโรคระบบทางเดินอาหารขัดข้อง เนื่องจากกระบวนการที่อาหารผ่านไปนั้นทำงานผิดปกติ โรคนี้ถือเป็นโรคยอดฮิตในหมู่ผู้บริหาร เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้มักจะต้องทำงานแข่งกับเวลา และเคร่งเครียดอยู่กับงานจนลืมที่จะรับประทานอาหาร หรือเกิดจากการดื่มสุรา สูบบุหรี่อย่างหนัก พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้ทั้งสิ้น

 

5. โรคมะเร็งตับ

ถือเป็นโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะเพศชายซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้มีอัตราเสี่ยงสูง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ โรคพยาธิใบไม้ในตับ อะฟลาท็อกซินไนโตรซามีน ที่พบอยู่ในตัวยากันบูด ปลาร้า เนื้อแห้งโดยเฉพาะอาหารที่ใส่ดินประสิว ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรือกรรมพันธุ์ เป็นต้น

 

6. โรคเบาหวาน

ส่วนใหญ่ โรคเบาหวาน มักเกิดได้ง่ายกับคนอ้วน หรือผู้ที่รับประทานอาหารประเภทแป้งมากเกินไป กรรมพันธุ์ รวมทั้งผู้ที่มีความเครียดอยู่ตลอดเวลาอย่างกลุ่มนักบริหาร เนื่องจากเมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนบางอย่างออกมาทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และจะทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ในที่สุด

โรคเบาหวานมักพบจากการตรวจร่างกายประจำปี โดยไม่มีอาการผิดปกติให้สังเกตเห็น นอกจากอาการอ่อนเพลีย สมองมึนงง และถ้าตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว ต้องดูแลรักษากันตลอดชีวิต เพราะโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หาย

 

7. โรคถุงลมโป่งพอง

ที่เกิดกับกลุ่มนักบริหาร มักจะเกิดกับผู้ที่สูบบุหรี่จัดเป็นเวลานานๆ หรืออยู่ในบริเวณที่มีควันบุหรี่เป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป สัญญาณเตือนภัยของผู้ที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง จะมีอาการไอ เริ่มจากไอแห้งๆ และมักไอมากตอนกลางคืนเวลาอากาศเย็น และตอนเช้าหลังตื่นนอน มีอาการเหนื่อยเวลาออกกำลังกาย เป็นหวัด หลอดลมอักเสบบ่อยๆ หรือมีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

 

8. โรคกระดูกพรุน

สิ่งที่จะช่วยให้ผู้บริหารเหล่านี้สามารถดำเนินกิจการของตนเองอย่างมี ประสิทธิภาพไปพร้อมๆ กับสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ คือ แบ่งเวลาให้กับตัวเอง โดยการใช้เวลาในวันสุดสัปดาห์พักผ่อนอย่างเต็มที่ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายจะทำให้หัวใจ และปอดมีสมรรถภาพดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยลดความอ้วนทำให้ไขมันใต้ผิวหนังหมดไป อีกทั้งยังเป็นการลดน้ำตาลในเส้นเลือดได้อีกด้วย ควรฝึกนิสัยในการเลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารเพียงพอให้ครบทุกมื้อ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก สิ่งเสพติด เครื่องดื่มมึนเมา

สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้บริหารควรทำให้ได้ คือ การลดความเครียดให้ได้มากที่สุด เพราะความเครียดเป็นบ่อเกิดของโรคที่ไม่พึงปรารถนาทั้งปวง และหมั่นตรวจสุขภาพร่างกายทุกปี เพียงเท่านี้ท่านก็จะเป็นนักบริหารที่มีประสิทธิภาพ นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จโดยไม่เป็นเหยื่อของ 8 โรคดังกล่าวข้างต้น

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ
แหล่งที่มา : https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/health-tips/8-top-executives-disease/
ภาพประกอบจาก : https://www.freepik.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก