ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

ความสวย…ที่มี…เสียว

จากข่าวพาดหัวหน้าหนึ่งของไทยรัฐ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561 เรื่องของ ‘ก๊วนดารา’ รับรีวิว “เมจิก สกิน” ทำให้เกิดความตื่นตัวขึ้นทั้งในหมู่ผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในหลาย ๆ แง่มุม วันนี้จะมานำเสนอในมุมมองที่เกี่ยวกับผู้บริโภค ในตอน “ความสวย…ที่มี เสียว” ติดตามเลยครับ

 

สังคม…นิยม…ความสวยความงาม

เรื่อง ความสวยความงาม เรื่องที่เกือบทุกคนให้ความสนใจ…ในการช่วยให้ตัวเอง ดูสวย ดูหล่อ สมาร์ทยิ่งขึ้น และแน่นอน…ยิ่งมีอายุก็อยากให้ ดูสาว ดูหล่อ แบบกระชากวัยกันเลย…ยิ่งดี

จากสภาพดังกล่าวทำให้ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ด้านความสวยความงาม ออกมาให้เลือกกันมากมาย ทั้งบนดิน ทั้งใต้ดินหรือผิดกฎหมาย โดยแต่ละรายก็ทำการตลาดกันทุกช่องทาง ทุกวิธีการ โดยทุ่มทุนหมดงบไปกับการโฆษณาบรรยายสรรพคุณซึ่งมีทั้งจริง…และเกินจริง

ประเด็นที่น่าสนใจคือ…หากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพ สมดั่งคำโฆษณา หรือ มีการศึกษาวิจัยสนับสนุนถึงสรรพคุณดังกล่าว ก็เป็นการดี เพราะอย่างน้อย ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์ตามเนื้อหาของโฆษณา

ในทางตรงกันข้าม หากเป็น “ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ” หรือ “ใช้แล้วไม่ได้ผลดีตามสรรพคุณ” หรือ มีการ “โอ้อวดเกินจริง” หรือ มี “ผลเสียตามมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์” ก็จะยิ่งสร้างความเสียหายให้กับผู้บริโภค และสังคมโดยภาพรวม

 

ทุ่มโฆษณา…ให้เป็นที่รู้จักและน่าเชื่อถือ

กลับเข้ามาที่ข่าวพาดหน้าปก ผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏในข่าว ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่กลับใช้การทุ่มเงินทุนมหาศาล หลายร้อยล้าน ไปกับสื่อโฆษณา เรียกได้ว่าครบวงจร ทั้งสื่อออฟไลน์แบบเดิม ป้ายบิลบอร์ด ป้ายอีเล็คโทนิคตามย่านชุมชน และสื่อออนไลน์ โดยใช้เนทไอดอล หรือ ดาราชื่อดังจำนวนมาก มารีวิวผลิตภัณฑ์ ที่สำคัญมีการเลือกใช้คำโฆษณาที่เกินจริง เช่น “ผิวขาวใน 7 วัน” “สลายไขมัน แค่ดื่ม แขน ขา เล็ก เรียวดังใจ” “ลดความอ้อน การันตีความผอม” “ผิวขาวออร่า เทียบเท่าฉีด ไม่ต้องเจ็บตัว” เป็นต้น

 

กระจายสินค้า…แบบเครือข่ายลูกโซ่

นอกจากนี้ในส่วนของการจัดจำหน่าย ยังมีการจัดเป็นเครือข่ายคล้ายแชร์ลูกโซ่ มีตัวแทนกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อดึงดูดให้ผู้สนใจเข้ามาร่วมธุรกิจ โดยสร้างภาพให้เห็นว่าตัวแทนสามารถสร้างผลกำไรได้สูงถึง 2 – 5 เท่าของต้นทุนที่ลง เมื่อผลตอบแทนดี ก็ยิ่งพูดปากต่อปาก ยิ่งนำเงินเท่าที่จะหาได้ทุกบาททุกสตางค์  จากญาติพี่น้อง มาร่วมลงทุนในเครือข่ายดังกล่าว เรียกกันว่า ทุ่มสุดตัว เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าโดยเร็ว

ดั่งคำให้สัมภาษณ์ของผู้แทนจำหน่ายที่ว่า

“ตนเองเริ่มใช้ก่อน ต่อมามีการชักชวนให้โพตส์ขายสินค้าในสื่อออนไลน์ ด้วยรูปดาราและเงินจำนวนมหาศาล เพื่อเป็นสิ่งล่อใจถึงผลกำไรที่ดีต่อลูกข่าย พร้อมให้ความเชื่อมั่นด้วยการโฆษณาของเนทไอดอลหรือดารา ถึงแม้ว่าตนเองจะใช้แล้วไม่ได้ผลก็ตาม แต่ด้วยกำไรงาม สินค้าขายคล่อง จึงยังเป็นตัวแทนขาย และชักชวนให้มีลูกข่ายเพิ่มมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ”

 

ผลิตภัณฑ์…มีปัญหา…แค่ยังขายดี

ต่อมามีการตรวจพบผลิตภัณฑ์ในข่าว มีปัญหาด้านการผลิตและการจดแจ้งของผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้หลงเชื่อที่ร่วมลงทุน ในรูปของตัวแทนจำหน่ายระดับต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เดือดร้อนเนื่องจากเงินลงทุนยังติดอยู่ในสินค้าดังกล่าว

 

ความเสียหาย…มหาศาล

เรื่องนี้ นับเป็นอีกหนึ่งของเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายครั้งสำคัญต่อสังคมไทย สร้างความสูญเสียทั้งกับผู้บริโภค และทรัพย์สิน เงินลงทุนของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พร้อม ๆ กับสร้างความตระหนัก ถึงความสำคัญในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพ

 

เคล็ดลับ…ในการแยกชนิดของผลิตภัณฑ์สุขภาพ

เพื่อให้การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความสวยความงามในครั้งต่อ ๆ ไป ได้ความสวย…แบบไม่ต้องเสียวกัน อย่างน้อย ผู้บริโภคควรมีความรู้ ความเข้าใจถึงเครื่องหมายที่จะต้องปรากฏในผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง ดังนี้

 

สัญญลักษณ์แรกนี้ คือ เลข อย. หรือ เครื่องหมาย อย. ที่จะพบได้ในผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งผลิตภัณณฑ์เหล่านี้จะต้องแสดงสรรพคุณในลักษณะที่เป็นอาหารเท่านั้น และจะต้องไม่แสดงถึงสรรพคุณของยา เช่น บรรเทา บำบัด ป้องกัน หรือ รักษาโรค

หากพบสัญญลักษณ์นี้ในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์อาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น เครื่องสำอาง หรือ ยา เป็นต้น จะแสดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย

 

สัญญลักษณ์ที่สองนี้ จะเรียกว่า เลขทะเบียนยา ที่ทางราชการออกให้กับยาเท่านั้น อาจจะเป็นตัวอักษร แสดงบนฉลากยาทุกชนิด และแสดงว่า เป็นยาที่ผ่านการพิจารณาและอนุม้ติให้จำหน่ายในประเทศไทยได้

 

สัญญลักษณ์สุดท้ายนี้ เรียกว่า เลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก ซึ่งเครื่องสำอางทุกชนิดที่จำหน่ายในประเทศไทย จะต้องจดแจ้งกับทางราชการ

ด้วยสัญญลักษณ์ง่าย ๆ 3 ชนิดนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านคัดกรองผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้องได้ จะได้ไม่ต้องเสียว…เวลาที่ต้องการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อความสวย…นะครับ

 

(อนึ่ง รูปสัญญาลักษณ์ทั้งสาม คัดลอกมาจาก : http://www.oryornoi.com/kb/ผลิตภัณฑ์ยา/216)

ภก.ดร. วิรัตน์ ทองรอด

อาจารย์วิรัตน์ ทองรอด (อาจารย์เฟรช) จบการศึกษาปร.ด. (บริหารเภสัชกิจ) มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านการทำงานในสาขาวิชาชีพเภสัชกร ทั้งงานโรงพยาบาล งานบริษัทยา รวมถึงเป็นเจ้าของร้านขายยา “ศาลายา” ที่จังหวัดสมุทรปราการ อดีตเคยเป็นผู้ช่วยคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ • ในส่วนของงานด้านสังคม อาจารย์เป็นอนุกรรมการพัฒนาและรับรองมาตรฐานร้านยา - ผู้เยี่ยมสำรวจและประเมินเพื่อพัฒนาและรับรองร้านยาคุณภาพ สภาเภสัชกรรม, กรรมการ มูลนิธิเภสัชกรชุมชน, กรรมการอำนวยการของ FAPA-CP (Federation of Asian Pharmaceutical Association, College of Pharmacy) ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษา สมาคมร้านขายยา (ประเทศไทย)


Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก